รมว.แรงงาน เสนอขอแบ่งเงินประกันสังคมมาใช้ 30,000

ข่าวทั่วไป

เชื้อโควิด-19แพร่ระบาดหนักทำให้พี่น้องประชาชนต่างก็พากันเดือดร้อนหนักมาก บางคนถึงกับเลิกจ้างงานไปก็มีเพราะบริษัททนพิษโควิด-19ไม่ไหวต้องปิดตัวลงและทำให้ในตอนนี้เกิดปัญหาผู้คนตกงานกันเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว

ล่าสุด นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน กล่าวผ่านรายการโทรทัศน์ว่า ในเดือน ก.พ.นี้ จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แก้ไขทางเลือกประกันสังคม เพื่อแก้ปัญหาในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรมว.กลาโหม ได้ติดตามเรื่องนี้อยู่

ทั้งนี้ สมมุติว่า นาย ก. อายุ 55 ปี มีเงินสะสมอยู่ 100,000 บาท อยากให้ นาย ก. มีทางเลือกทั้งหมด 3 ทางดังนี้

1 ขอเลือกเงินบำเหน็จ หรือบำนาญ

2 ขอคืนเงินเมื่อเกิดวิกฤต โดยไม่เกิน 30% หรือสามารถแบ่งเงินออกมาใช้ได้ 30,000 บาท และ

3 ขอกู้เงิน โดยนำเงินชราภาพเป็นประกันเงินกู้ สำหรับเงินชราภาพขณะนี้อยู่ที่ 1.7-1.8 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบขยายเวลาลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นระยะเวลา 6 เดือน

เพื่อรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ในส่วนของผู้ประกันตนม.33 เมื่อปี64 ได้มีการลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตราไปแล้ว 4 รอบ รวมกว่า 1 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ครม. ยังได้อนุมัติปรับสูตรคำนวณบำเหน็จชราภาพ

เช่น นาย ก. ทำงาน 180 เดือน หรือ 15 ปี และได้ส่งเงินสมทบมาเรื่อยๆ เงินทั้งหมดจากทั้งนาย ก. 5% นายจ้าง 5% และรัฐบาล 2.75% สามารถแยกเป็น 1. เจ็บป่วยคลอด ทุกพลภาพ

และเสียชีวิต 2. ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร โดยสมมุติว่า นาย ก. อายุ 55 ปี ได้บำนาญเดือนละ5,000 บาท คือได้รับมา 10 เดือน หากนาย ก. เสียชีวิตทายาทจะได้รับเงินอีก 10 เดือน รวมเป็น 1 แสนบาท

อย่างไรก็ดี นาย ก. ส่งเงินมาแล้วทั้งหมด 180 เดือน หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2 แสนบาท ซึ่งนาย ก. จะขาดทุน ในส่วนของรัฐบาลจึงแก้ไขปรับรูปแบบใหม่ จากเดิมจะได้รับเงินบำนาญจำนวนมากกว่าเดือนสุดท้าย 10 เท่า

แต่ได้มีการแก้ไข เช่น อายุ 55 ปี ได้เงินเดือนละ 5,000 บาท มาแล้ว 10 เดือน หากเสียชีวิตทายาทจะได้รับเงินต่ออย่างน้อย ได้รับ 60 เดือน หรือ 60 เท่า คิดเป็นเงิน 300,000 บาท