วอนหยุดแชร์ ภาพย่าโมปลอม พร้อมเผยความเชื่อ ที่คนโบราณไม่กล้าถ่ายรูป

ข่าวทั่วไป

ทำเอาหลายคนเข้าใจผิดไปตามๆกันเลยทีเดียวค่ะ กับกรณีของผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่งที่ได้มีการโพสต์ภาพ พร้อมทั้งเขียนแคปชั่นว่า “บุญตาแล้วที่ได้เห็นภาพคุณย่าโมสาธุ” ซึ่งก็มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นนับร้อย มีคนกดไลค์กดแชร์ไปนับพันคนเลยอีกด้วย จนล่าสุดทางเพจ “โบราณนานมา” ได้ออกมาชี้แจงว่าจริงแล้วไม่ใช่ภาพถ่ายของ ย่าโม

แต่คือภาพถ่ายของ “ท้าววรจันทร์” โดยมีการระบุว่า “ภาพนี้ไม่ใช่ ! ท้าวสุรนารี (ย่าโม) แต่เป็น “ท้าววรจันทร์”โพสต์นี้กดไลก์ ๒.๙ พันไลก์ กดแชร์ ๑.๑ หมื่นแชร์ ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดและสับสน ต่อคนที่พบเห็นเป็นจำนวนมาก

ขอพูดถึงเรื่อง “กล้องถ่ายรูป” ก่อนเลยแล้วกันผู้ที่นำ “กล้องถ่ายรูป” เข้ามาในประเทศสยามครั้งแรก คือ “พระสังฆราชปาลเลอกัว” บาทหลวงคาทอลิคชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่ประเทศสยาม เมื่อปี ๒๓๘๘ ตรงกับปลายรัชกาลที่ ๓ ส่วน “ท้าวสุรนารี (ย่าโม)” ท่านเกิดปี ๒๓๑๔ ในสมัยกรุงธนบุรี

และมีชีวิตเรื่อยมาจนถึงแก่อสัญกรรมในปี ๒๓๙๕ คือช่วงต้นรัชกาลที่ ๔ พอดี ซึ่ง ณ เวลานั้นกล้องถ่ายรูปเข้ามาแล้วก็จริง แต่ ! ไม่เป็นที่แพร่หลายในสยาม เนื่องด้วยคนไทยในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการปั้นหุ่น การวาดรูป การถ่ายรูป จะมีอายุสั้น หรือจะถูกนำไปทำร้ายด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ คนสมัยนั้นจึงไม่กล้าที่จะถ่ายรูปกัน

ความเชื่อดังกล่าวนี้มีมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๔ เป็นเจ้านายพระองค์แรก ๆ ที่ทรงยอมถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ทำให้การถ่ายภาพเริ่มได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูง และประชาชนนิยมการถ่ายภาพเจริญรอยตามพระองค์มากขึ้น

เมื่อเทียบจากช่วงเวลาที่ “กล้องถ่ายรูป” ได้รับความนิยม และปีที่ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีภาพถ่ายจริง ๆ ของ “ท้าวสุรนารี (ย่าโม)” ส่วนบุคคลในภาพ คือ “ท้าววรจันทร์” หรือ เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔ มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา” เป็นต้นราชสกุล “โสณกุล””

งานนี้ก็มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ต้นเรื่องโคตรมั่วไม่รู้จริงเอามาโพสต์ , ขอบคุณที่ทำให้ข้อเท็จจริงปรากฏไม่งั้นก็มีความสับสนไปอีกนาน. , นี่สงสัยเวลาอ่านอะไรกันแล้วไม่ใช้สมองคิดตามกันเลยเหรอเราจะเชื่อทุกอย่างในโซเชียลไม่ได้นะ , แค่ชุดที่ใส่นั้น ก็ไม่ใช่แล้วครับ เพราะไม่ใช่ชุดที่สตรีชั้นสูงใส่กันในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

https://www.facebook.com/boraannaanma/photos/a.1721168658137287/2584686728452138/?type=3&theater

ขอขอบคุณ : โบราณนานมา

เรียบเรียงโดย : setup999

kan