ศรีสุวรรณ จี้ตรวจสอบ คณะก้าวหน้า จัดเรี่ยไรระดมทุนขออนุญาตหรือไม่

ข่าวทั่วไป

ดูเหมือนว่าจะงานเข้าซะแล้ว หลังจากที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และคณะก้าวหน้า ได้ออกมาจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตระดมทุน เมย์เดย์เมย์เดย์ เราช่วยกันที่ถูกจัดขึ้นเมื่วันที่ 1-2 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา ล่าสุด เฟซบุ๊ก ศรีสุวรรณ จรรยา ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุว่า ” ศรีสุวรรณจี้กรมการปกครองตรวจสอบคณะก้าวหน้าจัดเรี่ยไรระดมทุนขออนุญาตหรือไม่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย

เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีกลุ่มการเมืองนาม “คณะก้าวหน้า” นำโดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้จัดกิจกรรมไลฟ์สด “คอนเสิร์ตระดมทุน #MAYDAYMAYDAY เราช่วยกัน” เมื่อวันที่ 1-2 พ.ค.63 ที่ผ่านมา โดยอ้างว่าจะระดมทุนดังกล่าวไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื่อโรคไวรัสโควิด-19 นั้นกิจกรรมดังกล่าวแม้จะมีวัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อสาธารณประโยชน์

แต่มิได้เป็นการดำเนินการโดยภาครัฐหรือทางราชการ กฎหมายจึงกำหนดให้ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนตามความใน ม.6 ประกอบ ม.8 แห่ง พรบ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 ซึ่งตามกฎกระทรวงแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการขออนุญาตจัดให้มีการเรี่ยไรและทำการเรี่ยไร พ.ศ.2548 กำหนดให้อธิบดีกรมการปกครอง

เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ม.8 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องตรวจสอบต่อไปว่าผู้ขออนุญาตเคยต้องโทษเกี่ยวกับลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ รับของโจร หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายลักษณะอาญาหรือไม่ หากใครฝ่าฝืนย่อมมีความผิดตาม ม.17 ประกอบ ม.19

ได้หรือหากผู้จัดกิจกรรมปิดบังอำพรางข้อเท็จจริงก็อาจเข้าข่ายความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ปอ.ม.172 ได้สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังอธิบดีกรมการปกครองเพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบต่อไปว่า 1)กิจกรรมการเรี่ยไรดังกล่าวมีการดำเนินการขออนุญาตจากกรมการปกครองตามกฎกระทรวง

แห่ง พรบ.ควบคุมการเรี่ยไร 2487 แล้วหรือไม่ อย่างไร 2)กิจกรรมการเรี่ยไรดังกล่าวมีการออกใบรับเงินให้กับผู้บริจาคทุกคนตามที่กำหนดไว้ใน ม.13 หรือไม่ 3)กิจกรรมการเรี่ยไรดังกล่าว มียอดรับเงินบริจาคตรงกับยอดการบริจาค โดยการนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ทั้งหมดแล้ว หรือไม่ อย่างไรทั้งนี้เมื่อมีการตรวจสอบตามข้อร้องเรียนดังกล่าว

ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นลงไปแล้ว หากพบว่าเป็นการดำเนินการที่ฝ่าฝืนพรบ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 ก็ย่อมที่จะฝ่าฝืน พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องตามไปด้วย ย่อมถือได้ว่า “เป็นความผิดที่สำเร็จแล้ว” ขอให้ดำเนินการทางกฎหมายเพื่อลงโทษตามครรลองของกฎหมายสูงสุดต่อไป ทั้งนี้กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย ไม่อาจมีข้อยกเว้นให้บุคคลใดหรือคณะใดได้ แม้จะอ้างว่าเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ตาม นายศรีสุวรรณกล่าวในที่สุด ”

ขอบคุณข้อมูล:ศรีสุวรรณ จรรยา

เรียบเรียงโดย:setup999