สหภาพการไฟฟ้า หวั่นขาดสภาพคล่องทางการเงิน เหตุลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชน ช่วงโควิด-19

ข่าวทั่วไป

จากสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดหนัก ที่ทำให้ทางรัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ได้ลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชน ส่วนบ้านไหนใช้ไฟฟ้าไม่ถึง 90 หน่วยให้ใช้ฟรี ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 63 ที่ผ่านมาเพจเฟซบุ๊ก ข่าวเวิร์คพอยท์ 23

ได้ออกมาโพสต์ระบุข้อความว่า ” สหภาพการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หวั่นขาดสภาพคล่อง ขอผ่อนผันส่งเงินเข้าคลัง-เลื่อนจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าจากกฟผ.นายกิตติชัย ใสสะอาด ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กล่าวถึงกรณีค่าไฟแพงขึ้นในช่วงกักตัวสถานการณ์โควิด-19 ว่า การที่ค่าไฟแพงนั้นเนื่องจากเดือนมีนาคม เมษายน เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงานหนักเพราะอากาศร้อน

ส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้น ส่วนการกำหนดค่าไฟที่แพงนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่มีคณะกรรมการกิจการพลังงานเป็นผู้กำหนดและกำกับดูแลในการคิดค่าไฟทั้งนี้ กำลังประสบปัญหาจากมาตรการดังกล่าวของรัฐ ทางสหภาพเกรงว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและนครหลวงจะประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง

ในเดือนกรกฎาคมนี้ จึงอยากขอเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ เพราะทางสหภาพฯ ไม่อยากให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับการบินไทย หรือรัฐวิสาหกิจอื่น ๆการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต้องจ่ายเงินให้กับรัฐบาลทุกไตรมาส รวมปีละ 14,000 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่รายได้ลดลงกว่า 2 หมื่นล้านบาท ตามนโยบายของรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชน

รวมถึงการยืดอัตราการจ่ายบิลโดยหนึ่งบิลสามารถชำระได้ภายใน 6 เดือน และการปรับลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ร้อยละ 20 จึงอยากสอบถามว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยังจำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับรัฐบาลเต็มวงเงินเดิมหรือไม่ หรือปรับลดลงตามรายได้อย่างไรก็ตามประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ยังเรียกร้องให้รัฐบาลมีการปรับหลักเกณฑ์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจากเดิมที่รัฐบาลผลิตแค่ 33% เอกชนผลิต 57% โดยขอให้รัฐบาลปรับเพิ่มอัตราการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 51% หากสามารถทำได้จะทำให้อัตราค่าไฟถูกลงและประชาชนจะได้ใช้ไฟฟ้าในราคาที่ถูกขึ้นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

จึงยื่นหนังสือและจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ดังนี้1. จะลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ.ที่ กฟภ.ต้องส่งทุกเดือนได้หรือไม่ หรือมีมาตรการรองรับอย่างไร2. กฟภ.นำส่งรายได้เข้ารัฐเป็นรายไตรมาส ราว 1.4 หมื่นล้านบาทต่อปีนั้น

ยังต้องส่งเท่าเดิมหรือทยอยส่งได้3. หาก กฟภ.ขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะจากการยืดเวลาให้ประชาชนจ่ายค่าไฟได้ 6 เดือนนั้นรัฐบาลจะเข้ามาดูแลอย่างไรนายกิตติชัย เผยว่า กฟภ.และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือประชาชนช่วงโควิด-19 ระบาด แต่หากดำเนินตามนโยบายรัฐบาลโดยไม่มีมาตรการมารองรับ กฟภ.อาจจะขาดสภาพคล่องในเดือนก.ค.นี้ จึงอยากให้ผู้มีอำนาจเร่งพิจารณามาตรการรองรับสำหรับ กฟภ.ด้วย ”

ขอบคุณข้อมูล : ข่าวเวิร์คพอยท์ 23