หมอธีระวัฒน์ เผยสถิติหัวใจอักเสบ ไฟเซอร์-โมเดอร์นา

ข่าวทั่วไป

ตอนนี้จะเห็นว่าประชาชนหลายๆคนเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19เป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีประชาชนอีกบางกลุ่มที่กลัวไม่กล้าฉีดเพราะอาจจะเกิดผลข้างเคียงตามมา เห็นได้จากหลายข่าวที่ถูกนำเสนอออกมา

ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมาจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเผยว่า

หัวใจอักเสบจากไฟเซอร์/โมเดนา หมอดื้อ 21/9/64 ในการรวบรวมจากCDC สหรัฐ ความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภายในเจ็ดวันจาก ไฟเซอร์ โมเดนา (23 มิถุนายน 2564)

ช่วงอายุ 12 ถึง 17 ปี

ผู้ชาย 62.75 ต่อ 1 ล้านโดส

ผู้หญิง 8.68 ต่อ 1 ล้าน โดส

ช่วงอายุ 18 ถึง 24

ผู้ชาย 50.49 ต่อ ผู้หญิง4.39

ช่วงอายุ 25 ถึง 29 ปี

ผู้ชาย 16.27 ต่อผู้หญิง 1.69

ช่วงอายุ 30 ถึง 39 ปี

7.34 ต่อ 1.18

ช่วงอายุ 40 ถึง 49 ปี

3.96 ต่อ 1.81

ช่วงอายุ 50 ถึง 64 ปี

1.11 ต่อ 0.96

อายุ 65 ปีขึ้นไป

0.61 ต่อ 0.46

CDC สรุปในวันที่ 8 กันยายน 2564

มักเกิดในผู้ชายอายุไม่มาก มักเกิดตามหลังเข็มที่สอง เกิดขึ้นภายในไม่กี่วันหลังได้รับวัคซีน ตอบสนองต่อการรักษาดีแต่ต้องปรึกษาหมอหัวใจในเรื่องการออกกำลังและการเล่นกีฬาหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว

อนึ่ง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบภายใน 42 วันหลังจากที่ได้รับวัคซีนไม่ปรากฏในรายงานวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีใสโปลิโอหรือไข้เหลือง (vaccine safety data link)

มีรายงานสองสามรายในวัคซีนไข้หวัดใหญ่แต่ความเชื่อมโยงไม่ชัดเจน ทางเลือกสำหรับประเทศไทยในเด็กตั้งแต่อายุสามขวบขึ้นไปเพื่อความปลอดภัยสูงสุด

อาจจะเป็นวัคซีนเชื้อตายสองเข็มแต่เนื่องจากไม่สามารถคุมเดลต้าได้ จึงตามด้วยไฟเซอร์ หรือโมเดนา ในปริมาณน้อยที่สุดคือหนึ่งส่วนสี่โดส เข้ากล้าม

ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลหรือจะใช้ขนาดหนึ่งในห้าหรือหนึ่งใน 10 ทางชั้นผิวหนังก็ได้ผลเช่นกัน (เป็นการศึกษาในผู้ใหญ่ในประเทศไทย)

ขอบคุณข้อมูล : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha