หมอธีระวัฒน์ เผยไทยรอดโควิดมาได้ เพราะอะไร

ข่าวทั่วไป

ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 63  นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงประเด็นการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบุว่า ” จากเดือนมกราคม 2563 เรารอดมาได้เพราะ…..ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา13/5/63#สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคคลทั่วไปจากที่เกิดในจีน เกิดในไทย และไปทั่วโลก การรับมือที่ต่างกัน

เรารอด เพราะเราไม่หลงกล หลงยึดติดกับตำรา ความเชื่อที่ว่า โควิด 19 คือโรคหวัดธรรมดา มีแต่สัตว์สู่คน เหมือนโคโรนาไวรัสดั้งเดิมประจำถิ่น ไม่ต้องใส่หน้ากากเรารอดเพราะเราไม่เชื่อว่าการติดต่อไม่กว้างขวาง ไม่รุนแรง เราไม่เชื่อวีธีการคิดอัตราป่วย และเสียชีวิต ว่ามีเพียงน้อยนิดเพราะแท้จริงแล้วการเสียชีวิตขึ้นอยู่กับสถานการณ์และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวเท่านั้น คนแข็งแรง เชื้อเข้มข้น ระยะสัมผัสโรคนานก็หนักได้

เรารอดมาเพราะการคัดกรองเข้มงวดตั้งแต่ 3 มกราคม 2563 จนกระทั่งเจอผู้ป่วยรายแรก และการติดตามผู้สัมผัส ความเสี่ยงสูงและกักกันตัวได้ทัน ความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขจนกระทั่งถึงอาสาสมัครหมู่บ้านเรารอดมาได้เพราะเราเรียนตามบทเรียนที่ประเทศจีนได้รับและทำการปรับตัว โดยไม่หลงเชื่อ กรอบดั้งเดิม

เรารอดมา เพราะเราปอดแหก ทำให้กลัวปอดพัง และอวัยวะทั้งตัวเจ๊ง ทำให้มีวินัยและกักตัวระวังการแพร่จากวงจรใบหน้าและมือสัมผัสเรารอดมาได้จากรอบหรือระลอกที่หนึ่ง จากการล็อกดาวน์เราจะรอดจากระลอกใหม่หรือไม่ ขึ้นกับความตระหนักในการแพร่โดยไม่มีอาการ ที่เป็นตัวการสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดด้วยซ้ำ

ในระยะแรก การตรวจเป็นการให้ความสำคัญกับการช่วยชีวิตคนเจ็บป่วย ดังนั้นการตรวจคัดกรองและคำนิยามของผู้ต้องสงสัยจะขึ้นอยู่กับอาการที่มีว่ามีหรือไม่อย่างไรในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการแพร่ไร้อาการ ตั้งแต่ต้น และเป็นผู้นำในการตรวจหาแอนติบอดีย์ หรือภูมิในน้ำเหลือง ซึ่งแสดงสถานะของการติดเชื้อ ร่วมกับการตรวจหาเชื้อโดยวิธี พีซีอาร์

รวมทั้งถึงประเทศจีนในระยะถัดมาหลังจากประเทศสะอาด ตรวจปูพรม 14 ล้านคน ใน10 วันที่ อู๋ฮั่น หลังจากพบผู้ติดเชื้อใหม่แบบไม่มีอาการหกรายทั้งนี้ไม่สนใจกับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและเป็นตัวเลขที่ไร้อาการ เป็นส่วนมาก เพื่อให้ความมั่นใจสูงสุดว่าจะไม่มีการแพร่ต่อการสร้างความมั่นใจยังประกอบไปด้วยการตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อระยะหนึ่งไปแล้ว

ในการศึกษาที่นิวยอร์ก ในคนที่เคยติดเชื้อพบว่ามีภูมิขึ้นเกือบทั้งหมดและน่าจะเป็นหลักประกันเหมือนกับเป็นพาสสปอร์ตในการป้องกันโรคขอบคุณน้องๆ จาก เพจ แพทย์ไทยไอเดียสุด สำหรับข้อมูลด้านล่างต่อไปนี้ครับ*** ข่าวดีประกาศให้ทั่วกัน​ ! ของผู้ติดเชื้อที่อาการดีขึ้นแล้ว วิจัยล่าสุดจากทีมแพทย์ที่ New York ที่น่าสนใจ พบมีภูมิคุ้มกันได้เกือบทุกคน (99%) … และแนะแนวในการทำ Wide Screen Antibody ต่อด้วย รวมถึงจะศึกษาต่อว่า สามารถมีภูมิต่อเนื่องได้อีกกี่เดือนต่อ

ในวิจัยนี้จะดูทั้งผล Antibody ที่ตรวจพบความเปลี่ยนแปลง และผลการตรวจเจอว่าติดเชื้อโดย PCR-positivity ใน New York Cityในผู้ที่เข้ามาร่วมวิจัยนั้น เป็นผลที่ได้ผลยืนยัน หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยการทำ PCR และ ELISA สำหรับการตรวจ anti SARS-CoV-2 spike antibodies47% ของ 1343 คน ได้มีการการตรวจยืนยันว่า PCR พบเชื้อมาแล้ว เกือบทั้งหมดเป็นผู้ป่วยนอกที่อาการน้อยถึงกลาง ๆ

ผลการศึกษาพบว่า –

1. เกือบ 100% ของคนที่ติดเชื้อที่ยืนยันโดย PCR มาแล้ว ที่เข้าร่วมนั้น มีความเปลี่ยนแปลงของ Antibody ที่เพิ่มขึ้นชัดเจน (เว้นแค่ 3 คนที่ไม่เจอ)

2. ในขณะที่ 37.4 % ของผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อนั้น มีความเปลี่ยนแปลงของ Antibody ที่เพิ่มขึ้นชัดเจน

3. 57 % ของผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดมีผลตรวจว่า เจอ Antibody ชัดเจน ส่วนอีก 5 % เจอ Antibody บ้าง

4. ใน 584 คนที่ได้ทำเทสต์ทั้ง 2 อย่างนั้น ในช่วงปลาย ๆ ตรวจ PCR พบเชื้อแค่ 249 คน (42 %) โดยเจอเชื้อใน PCR ที่ค่าเฉลี่ยที่ 20 วัน หลังเริ่มมีอาการ และ 12 วันหลังอาการหาย (นานสุดคือ 28 วันหลังอาการหาย)

5. ใน 624 คนที่ได้ผลตรวจ PCR ก่อนเข้าร่วมโครงการนั้น มีผลตรวจว่า เจอ Antibody ชัดเจน 82 % ส่วนอีก 7 % เจอ Antibody บ้าง และมีอีก 11 % ที่ไม่เจอ

6. ในกลุ่มที่ 18 % ที่ Antibody ไม่เจอ หรือเจอบ้างนั้น ได้มีการตรวจต่อ ยังพบ PCR เจอเชื้อ 35 % (5-22 วันหลังอาการหายแล้ว)

7. ในกลุ่มที่ PCR เจอเชื้อ แต่มีผล Antibody เจอบ้างนั้น มี 64 คนได้กลับมาตรวจ Antibody ซ้ำ ได้ผลชัดเจน 57 คน (89 %) เจอบ้างเหมือนเดิม 4 คน ไม่เจอ 3 คน

8. ในกลุ่มที่รายงานผล PCR มาด้วยตนเองก่อนเข้าร่วมโครงการนั้น อาการหายแล้ว 3-14 วันก่อนมาตรวจซ้ำ แต่พบมี 289 คน (19 %) ที่ยังตรวจ PCR เจอส่วนของเชื้ออยู่

9. ยังตรวจ PCR เจอส่วนของเชื้อได้นานสุด 42 วันหลังเริ่มมีอาการ และ 28 วัน หลังอาการหาย

10. ใน 182 คนที่กลับมาตรวจ PCR ซ้ำขั้นต่ำ 3 วันหลังตรวจเจอเชื้อจาก PCR มี 39 % ยังตรวจเจอเชื้ออยู่ได้อีก

ข้อสรุป –

1. ผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมด (99 %) ทั้ง 2 กลุ่มที่เข้าร่วมเก็บข้อมูลทั้งกลุ่มที่รายงานผลมาด้วยตนเอง และกลุ่มที่มีผลตรวจรายงานแบบ Online มาแล้วนั้น มีความเปลี่ยนแปลงของ Antibody IgG ที่เพิ่มขึ้นชัดเจน

2. IgG ตรวจพบหลังเริ่มมีอาการ 7-50 วัน (ค่าเฉลี่ย 24 วัน) และยังตรวจเจออีก 5-49 วันหลังอาการหายได้อีก (ค่าเฉลี่ย 15 วัน) จึงทำให้เห็นว่า อาจจะมีภูมิต้านทานไวรัสต่อได้อีก 3 สัปดาห์ขึ้นไปได้

3. จึงมีข้อแนะนำในการจะตรวจ Wide Screen IgG คือ ประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังมีอาการ และขั้นต่ำ 2 สัปดาห์หลังอาการหาย

4. ไม่พบมีการลดระดับของ IgG ในการตรวจซ้ำ

5. กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีภูมิคุ้มกัน ที่อาจจะป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้ (มีการศึกษาต่ออีก 6 เดือน)

6. ในกลุ่มที่มิได้ตรวจ PCR มาก่อน แต่เป็นกลุ่มที่เป็น High Risk ที่โดนสงสัยจากแพทย์ว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อ หรืออยู่อาศัยใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรือเป็นบุคลากรทางการแพทย์ สามารถตรวจเจอ IgG ถึง 36 % แต่ส่วนใหญ่จะไม่เจอ แต่ยังบอกอะไรไม่ได้หมด เพราะความไวในการตรวจเจอ (Sensitivity) มี 92 % จึงอาจจะมีติดเชื้อ แล้วตรวจ ไม่เจอได้ 8 จาก 100 คน และมีบางคนที่มาตรวจไวเกินไปไปได้อีก (PCR จึงยังจำเป็นอยู่เหมือนกัน)

7. ประมาณ 20% ยัง PCR แล้วตรวจเจอรหัสกรรมพันธ์ของเชื้อ (PCR) แม้อาการหายแล้วตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไปอีก

8. แต่ PCR ไม่ได้บอกว่า ยังมีการติดเชื้อได้หรือไม่ อาจจะเจอบางส่วนของไวรัสค้างอยู่ได้

9. คำแนะนำของผู้วิจัย คือ ไม่ควรนำ PCR มาบ่งบอก หรือยืนยันถึงการที่ไวรัสยังอยู่ หรือหายไป ”

ขอบคุณข้อมูล : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha