หมอยง ชี้ การตรวจภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน จำเป็นไหม

ข่าวทั่วไป

การเชื้อไวรัสโควิด-19ที่ระบาดหนักอยู่ในตอนนี้ ซึ่งในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อดังกล่าวสูงอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียวโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ กรงุเทพฯ ผู้ติดเชื้อเป็นพันๆราย ตอนนี้ทางรัฐบาลก็กำลังเร่งนำเข้าวัคซีนมาฉีกให้กับทุกคนบางคนก็ได้รับวัคซีนแล้ว บางคนก็ยังไม่ได้รับเพราะกล้วผลข้างเคียง

โดยวันนี้ 31 พ.ค. 64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุงฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเปิดเผยว่า ” โควิด 19 วัคซีน การตรวจภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน ไม่จำเป็นยง ภู่วรวรรณวัคซีนป้องกัน covid 19 ที่เราฉีดกัน การตอบสนองภูมิต้านทานจะเกิดขึ้น หลังฉีดครบแล้ว มากกว่า 99% แม้กระทั่งวัคซีน AstraZeneca

เพียงเข็มเดียวภูมิต้านทานก็ขึ้นดีมากการตรวจจึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดระดับภูมิต้านทานที่ตรวจได้ในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าระดับแค่ไหน เป็นระดับที่น้อยที่สุดในการป้องกันโรคถึงเรารู้ระดับภูมิต้านทาน เราก็จะยังไม่ทำอะไรอยู่ดี การกระตุ้นเข็มที่ 3 ก็ยังไม่มีข้อยุติ จนกว่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้ดังนั้น ผู้ที่ซื้อ ชุดตรวจแบบรวดเร็ว ก็ยิ่งไม่จำเป็นใหญ่

เพราะการตรวจจะมีความไวไม่เพียงพอ จะให้ผลลบจำนวนมาก เสียสตางค์โดยใช่เหตุในการตรวจวัดเชิงปริมาณ หน่วยที่ใช้ก็ยังไม่ได้ใช้หน่วยเดียวกัน ในแต่ละห้องปฏิบัติการขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจ การแปลผลจะสับสนกันมาก จึงไม่มีความจำเป็นในการตรวจเราจะเห็นหน่วยเป็น AU (Arbitrary Unit) หรือหน่วยตามอำเภอใจ ของบริษัทที่ตั้งขึ้น หรือหน่วยเป็น unit

ยังไม่ได้ใช้หน่วยเดียวกันแบบไวรัส ตับอักเสบบี วัคซีน บางหน่วยเป็น ไดลูชั่น เช่น 1:10, 1:20, 1:40 ,,, หรือบางหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ inhibition ผู้แปลผลจะสับสนมากการตรวจขณะนี้อยู่ในงานวิจัยเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้ในเชิงบริการ หรือโรงพยาบาลต่างๆที่ใช้วัดผลของวัคซีน โดยเฉพาะโรงพยาบาลบางแห่ง นำวิธีการตรวจแบบ เชิงคุณภาพ qualitative แล้วอ่านผลหน่วยเป็น COI คือเปรียบเทียบกับ cut off value ว่าเป็นกี่เท่า

ทำให้ในการตรวจหลายแห่ง โดยเฉพาะใช้ชุดตรวจแบบรวดเร็ว หรือชุดตรวจแบบเชิงคุณภาพไม่ใช่เชิงปริมาณจะให้ผลลบเป็นจำนวนมาก ทำให้ดูเหมือนว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันการวัดเชิงปริมาณในการแปลผล ก็ยังไม่มีข้อยุติว่าระดับใดคือระดับที่ป้องกันโรคการตรวจหลังฉีดวัคซีน จึงไม่แนะนำให้ทำ ขณะนี้อยู่ในการทำเพื่อการวิจัเท่านั้น#หมอยง”

ขอบคุณข้อมูล: Yong Poovorawan