หมอเบียร์ เผยทำไมผู้ป่วย ต้องนอนคว่ำ

ข่าวทั่วไป

ไข้ข้อสงสัยหลายๆคนได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียวโดยเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา หมอเบียร์ พญ.ณัฐกานต์ ชื่นชม อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก ได้ออกมาตอบถึงการรักษาผู้ป่วยคิดเชื้อโควิด-19ทำไมต้องนอนคว่ำ

ระบุว่า เมื่อวานหมอเบียร์เล่าเรื่องคนไข้คนหนึ่ง แล้วมีการกล่าวถึงการรักษาคนไข้โควิดด้วยการนอนคว่ำ ( prone position) วันนี้จะมาอธิบายพยายามให้เป็นเรื่องที่ง่ายต่อการเข้าใจค่ะ

prone position หรือการนอนคว่ำ เดิมทีเป็นท่าทางที่เราจัดท่าให้คนไข้ที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome : ARDS)ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม

เช่นการติดเชื้อปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด คนไข้จะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ เข้า ICU ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีฟิล์มเอกซเรย์ที่แย่มาก คือขาวโพลนไปหมด ฝ้าไปหมด

การจัดให้ผู้ป่วยนอนคว่ำมีการศึกษาพบว่าทำให้มีปริมาตรของปอดเพิ่มขึ้น ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีเลือดไหลเวียนดีขึ้นทำให้การแลกเปลี่ยนแก๊สโดยรวมดีขึ้น ผลก็คือมีค่าออกซิเจนในเลือดที่ัวัดได้

เช่นวัดจากปลายนิ้วสูงขึ้นในผู้ป่วยโควิดเราไม่ต้องรอจนกระทั่งผู้ป่วยโคม่า แย่ลงใส่ท่อช่วยหายใจ เราสามารถเริ่มนอนคว่ำตั้งแต่ผู้ป่วยยังหายใจได้เอง ใช้ออกซิเจนหรือออกซิเจนแรงดันสูงแต่ยังมีค่าออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 94% เรียกว่า awakening prone

ส่วนใหญ่ก็ทำได้ประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมงก็มักจะทนไม่ได้เพราะอึดอัด แต่มีคนไข้บางคนอึดมากอดทนได้ดีมากก็ให้คว่ำไปจนกว่าจะเมื่อย แล้วค่อยพลิกหงายหรือตะแคง ระหว่างนี้ก็ต้องดูแลสายที่ต่อกับเครื่องมือ High flow (ออกซิเจนแรงดันสูง)

ด้วยเพราะอาจจะมีการหักพับ มีลมรั่ว หรือมีอะไรมาตัน จะทำให้คนไข้ไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอก็อาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ค่ะ ส่วนผู้ป่วยอาการดี ไม่มีปอดอักเสบ

ค่าออกซิเจนปลายนิ้วดีก็ยังไม่ต้องนอนคว่ำ รอให้อาการแย่ลงค่อยนอนท่าคว่ำค่ะในภาพแอบถ่ายรูปแก๊งค์นอนคว่ำ..ตอนที่คนไข้เชื่อฟังทำตามแต่โดยดีจะน่ารักมากค่ะ อิอิ

ขอบคุณข้อมูล : เรื่องเล่าหมอชายแดน