เรียกได้ว่าตอนนี้กำลังเป็นกระแสดราม่าที่ถูกวิพากวิจารณ์กันอย่างต่อเนื่อง สำหรับตู้ปันสุข โดยทางเพจดังอย่าง “ปากช่องไทม์” ได้ออกมาโพสต์ถึงดราม่าดังกล่าวว่า คนเติมน้อยใจ ถูกหอบไปเกลี้ยงตู้#ตู้ปันสุขปากช่อง “ทุกอย่างได้ความร่วมมือจากผู้ใจบุญ ผู้ที่อยากปันสุขให้กับผู้ที่ไม่มี เห็นข้าวของที่มาใส่ให้ จากน้ำใจจริงๆ แต่ก็มีบ้างหยิบ (หอบ) ไปเยอะมาก
ไม่เหลือเผื่อใคร อยากให้หยิบแค่พอดี พองามค่ะ ก็มีน้อยใจอยู่บ้าง แต่ไม่เป็นไร เราเต็มให้ ภาพรวมแล้วคนปากช่องน่ารัก มีน้ำใจ เต็มใจช่วยกันแบ่งปัน วันๆมีคนแวะมาเติมตลอดทั้งวัน 30-40 คน เห็นแล้วมีกำลังใจค่ะ… อยากทำเพิ่มอีกตู้ ที่หน้าว่าการอำเภอปากช่อง” จากกลุ่ม แม่ริมรั้ว ซึ่งหลังจากปากช่องบ้านเรา ได้มีตู้ปันสุข นำข้าวสาร อาหารแห้ง มาใส่ตู้กับข้าว แล้วไปตั้งไว้ เท่าที่รู้มาตอนนี้ มี 2 ตู้
ฝั่งตรงข้าม หน้า รพ.ปากช่องนานา (สะพานลอย) กับ หน้าโรงเรียนเรืองศรี ช่วงวันสองวันที่ผ่านมา ก็ได้รับกระแสตอบรับดีมาก ทุกคนอยากมาช่วยแบ่งปัน ประชาชนที่เดือดร้อน ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็มารับสิ่งของที่อยู่ในตู้ บางครั้งก็เติมไม่ทัน เนื่องจากมีบางคนก็หอบเอาไปเยอะ ไม่เหลือแบ่งคนอื่น คอยเฝ้าวนเวียนมาเอาของในตู้ทั้งวัน หน้าเดิมๆ จนเกิดกระแสดราม่าบ้าง…. (11 พ.ค.)
กลุ่ม แม่ริมรั้ว อยากเล่าหลักการของ ตู้ปันสุข และวิธีการสร้างให้ยั่งยืนตู้ปันสุข #ไม่ใช่การแจกของ ลักษณะแบบเดียวกับโรงทาน ที่ซื้อมาเยอะๆเพื่อมาแจก แต่เป็น #การแบ่งปัน ของเล็กๆ น้อยๆ ที่มีในบ้าน พอที่จะให้คนอื่นๆได้“หยิบแต่พอดี ไม่โกย” เพื่อคนอื่นจะได้รับบ้าง นะคะตู้ปันสุข เป็นของชุมชน ผู้ติดตั้งไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่มีหน้าที่มาใส่ของให้หรือมาดูแลตู้ให้ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว
ถือว่ายกให้เป็นของชุมชน หากมีคนขโมยตู้ไป เราจะไม่โกรธไม่รู้สึกต่อว่าผู้ที่ขโมยไป มันเป็นของชุมชน ถ้าชุมชนไม่ช่วยกันรักษาก็จะไม่มีตู้ใช้ คนที่เดือดร้อนในชุมชนก็จะไม่ได้รับการช่วยเหลือเมื่อเอาของใส่ตู้แล้ว มันไม่ใช่ของเราอีกต่อไป จะมีคนเปิดหยิบไปหรือไม่ จะมีคนเติมหรือไม่ เป็นกระบวนการของชุมชนนั้นๆ หากมีคนกวาดไปหมด เราก็จะไม่ว่าเขา แต่อาจจะไม่มีคนมาใส่อีก หากหยิบแค่พอดี และเผื่อแผ่ “ให้” ผู้อื่นต่อ ก็เชื่อได้ว่า เขาจะได้ “รับ” ของจากคนอื่นๆ ในชุมชนต่อไป
ทั้งนี้เพราะ”ผู้ให้” ทุกท่านในชุมชน ไม่ได้มี “หน้าที่” เติมตู้ให้เต็ม แต่เป็นการแบ่งปันตามกำลัง ด้วยความรักความเมตตาต่อกัน และผู้ “รับ” ก็อาจจะเป็นผู้ “ให้” ได้ เมื่อมีโอกาสใครที่อยากทำตู้ทำได้เลยไม่ต้องขอทีมงาน ไม่มีลิขสิทธิ เพราะแนวคิดนี้เป็นของต่างประเทศ เพียงแต่ปรับแนวคิดบางประการ และรูปแบบตู้ก็สามารถออกแบบเองได้เลยเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่
ที่ตู้ควรมีสมุดโน๊ตและปากกาใส่ตู้ “ผู้ให้” และ “ผู้รับ” ได้มีโอกาสเขียนให้กำลังใจกัน เขียนขอบคุณกัน ก็จะเป็นความงดงามอย่างยิ่งในสังคม สังคมจะงดงามด้วยการสื่อสารใจต่อใจผ่านข้อความนี้เองจ้า 🙂 ถ้าเป็นไปได้ควรพาลูกๆ เด็กๆ มาเป็นผู้ช่วยใส่ของเข้าตู้ เด็กให้เขาเลือกว่าจะหาอะไรใส่ดี หรือใส่อย่างไรดี การให้เด็กมีส่วนร่วมกับการแบ่งปันมากๆ เขาจะเป็นผู้ที่เห็นความงดงามในสังคมตั้งแต่อายุยังน้อย..
ขอบคุณข้อมูล:ปากช่องไทม์
เรียบเรียงโดย:setup999