หมอยง แนะหลังเกิดปัญหาโควิด กับการเรียนออนไลน์ของเด็ก

ข่าวทั่วไป

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดหนักไปทั่วโลกและส่งผลกระทบในหลายๆส่วน จนทำให้ระบบการเรียนการสอนเกิดรูปแบบใหม่เป็นการเรียนการสอนออนไลน์แทน แต่งานนี้ก็เกิดปัญหาตามมามากมายกับผู้ปกครอง ซึ่งเมื่อวันที่ 18 พ .ค. 63 ที่ผ่านมา

เป็นวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทดลองระบบการศึกษาทางไกลและออนไลน์ให้นักเรียน จนเกิดเป็นแฮชแท็ก #เรียนออนไลน์ ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ในทวิตเตอร์เลยทีเดียว ขณะเดียวกันบางรายวิชาระบบล่มไม่สามารถเปิดให้เรียนผ่านออนไลน์ได้แต่หลังจากนั้นระบบก็กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ล่าสุด ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราชบัณฑิต หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็นของเชื้อไวรัสโควิด-19 กับปัญหาการเรียนหนังสือของเด็ก

ระบุว่า ” โควิด 19 กับการเรียนหนังสือของเด็กการทดลองเรียนออนไลน์ในวันแรก มีความสับสนพอสมควรเป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กนักเรียนเองก็สามารถที่จะรับเชื้อมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ไม่แตกต่างกับผู้ใหญ่เมื่อเด็กนักเรียนติดเชื้อ จะมีอาการน้อย และจะนำเชื้อนั้นไปแพร่กระจายที่บ้าน

ก็จะสร้างปัญหาได้ในขณะเดียวกันเรื่องการเรียนของเด็กก็เป็นเรื่องสำคัญทำอย่างไรที่จะให้เหมาะสมสมดุล เรียนหนังสือได้แต่จะต้องไม่เป็นคนกลางแพร่เชื้อทำอย่างไรจึงจะควบคุมการแพร่เชื้อ เมื่อเปิดเทอม เช่นการลดขนาดของจำนวนนักเรียน ในห้องเรียน คำนึงถึงระยะห่างของนักเรียน physical distancing

ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัย การล้างมือ การรับประทานอาหารที่สะอาด การใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ การตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าโรงเรียนและในชั้นเรียนการเปิดหรือปิดโรงเรียนก็มีผลกระทบทั้งสองด้านควรจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบทั้ง 2 ด้านร่วมกัน

ในเด็กเล็กและเด็กโตก็แตกต่างกันการพิจารณาเปิดปิดจะต้องมีการปรึกษาหารือกันระหว่างหมอโรคติดเชื้อ นักระบาดวิทยา จิตแพทย์เด็ก และการพัฒนาการของเด็ก คุณครูที่รู้เรื่องทางวิทยาศาสตร์ เข้ามามีส่วนร่วมการตัดสินใจเปิด ปิดโรงเรียน จะต้องอยู่บนฐานของวิทยาศาสตร์ ข้อมูลหลักฐาน ที่เกิดประโยชน์ สุขภาพ ร่างกายและจิตใจ ไม่ใช่การเมือง ”

ขอบคุณข้อมูล: Yong Poovorawan