ถอดภาษากาย โตโน่ ภาคิน ก่อนว่ายน้ำข้ามโขง

บันเทิง

ยังคงเป็นประเด็นให้จับตามองกันอยู่ตลอด เมื่อหนุ่ม โตโน่ ภาคิน เตรียมระดมเงินช่วยเหลือโรงพยาบาลในโครงการ One Man and The River หนึ่งคนว่ายหลายคนให้ จนเกิดเป็นกระแสดราม่าตามมา ล่าสุด ทางถอดรหัสภาษากาย by หมอมด ได้ถอดภาษากายของโตโน่ให้สัมภาษณ์กับทางช่อง One

ในวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ก่อนที่จะว่ายน้ำในวันจริงในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 และมีภาษากายที่น่าเรียนรู้ ต้องขอบพระคุณแฟนคลับของเวปไซต์ที่แนะนำเข้ามา บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนในการเรียนรู้ศาสตร์ภาษากาย (Non-verbral communication / Body Language )

อันได้แก่ข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (Concious / Unconcious) จึงเป็นชุดของข้อมูล (Information) ทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาที่สำคัญ

อันสามารถนำไปประยุกต์ตีความฐานะผู้สังเกตการณ์ และนำไปประเมินกับเหตุการณ์ที่ปรากฏอย่างไรเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินสิ่งใด ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์

นาที 0:11 – 0:13 ตอนถูกถามว่าพร้อมไหม เจ้าตัวตอบว่า “พร้อมที่จะ……ว่าย” จะสังเกตภาษากายได้อย่างน้อย 3 อย่าง

มองเฉียงลงด้านล่างขวา (looking down to the lower left quadrant) มักสัมพันธ์กับการคิดและมีอารมณ์ลบเป็นส่วนประกอบ เช่น ความรู้สึกผิด ละอาย กลัว เม้มริมฝีปาก (Inward lip roll)

เป็นภาษากายที่เกิดโดยปราศจากการบังคับโดยเจ้าตัว (Subconcious) จะสัมพันธ์กับการกลั้นอารมณ์ลบ (Conceling strong negative emotion) เช่น การกลั้นอารมณ์เสียใจ ความเครียด ความกลัว

หรือความโกรธ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากสภาวะปากแห้ง หรือ ริมฝีปากแห้ง มือขึ้นมาเช็ดจมูก (Hand rubbing nose) จากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ (Psychological discomfort)

จะพบได้บ่อยในกรณีที่พูดสิ่งที่ลำบากใจ เช่น โกหก ปกปิด พูดความจริงไม่ครบ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากการสัมผัสจมูกออกจากการ เช็ด หรือ ขยี้จมูกเพราะเป็นภูมิแพ้ หรือ แพ้อากาศ รวมถึง Baseline ของผู้พูดร่วมด้วย

แม้จะกินเวลาเพียง 3 วินาที และพูดออกมาแค่ไม่กี่คำ ก็พบภาษากายที่มีความหมายในทิศทางเดียวกัน ทำให้น่าวิเคราะห์ว่าเจ้าตัว “พร้อมที่จะว่าย” จริง ๆ หรือไม่ ?” เพราะมีภาษากายของความไม่มั่นใจ กังวล

และการเว้นวรรคสั้น ๆ ก่อนพูดคำว่า “ว่าย” ออกมาก็สะท้อนถึงความรู้สึกบางอย่างในส่วนนี้ผมคิดว่าเจ้าตัวอาจจะพร้อมในทางร่างกาย แต่ในแง่มุมอื่น ๆ เช่น สภาพจิตใจ อาจจะยังไม่เต็มที่ก็เป็นไปได้

นาที 0:15-0:25 “(*)ตื่นเต้น ก็ตื่นเต้นมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็ (**) …(***)นึกภาพไม่ออกว่าจะออกมายังไง” พบภาษากายดังนี้

มือจับคาง เป็นลักษณะทั่วไปที่พบเวลากำลังครุ่นคิด และร่วมกับการมองเฉียงขึ้นบน อธิบายได้ว่ากำลังคิดและจินตนาการเป็นภาพอยู่ในหัว (Mental image) ทั้งนี้หลายคนมักตีความผิดว่าการมองบน

หรือ ลูกตากลอกในลักษณะนี้แปลว่าโกหก อันเป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อนจังหวะนี้พบ Microexpression ของ Regret มักสัมพันธ์กับความรู้สึกผิด อึดอัดใจ

หรือลำบากใจ เป็นภาษากายที่พบได้ในสถานการณ์แจ้งขอโทษ สารภาพผิด หรือ แจ้งข่าวร้ายคลิกปาก คือ การดูดน้ำลายในปากให้เกิดเสียงโดยการหดแก้มมาชิดฟันที่กัดกัน

และดูดลมเข้าปากสั้น ๆ เร็ว ๆ เป็นภาษากายที่เกิดเมื่อกำลังใช้ความคิดวิเคราะห์ พบบ่อยเวลามีอารมณ์หงุดหงิด

นาที 0:40 – 0:44 “แต่ก็หวัง คิดอย่างเดียวว่า หวังว่าทุก ๆจ้วง (*) ที่ว่ายลงไปในน้ำ….(**)จะช่วยคุณหมอ คุณพยาบาลได้ จ้วงละบาทก็ได้ จ้วงละสองบาทก็ได้”

ตลอดในจังหวะนี้จะพบการใช้มือจับคางคล้ายตอนต้นแต่ถ้าดูในรายละเอียดจะพบว่าไม่ใช่ อยากให้สังเกตว่าเจ้าตัวใช้ปลายนิ้วกำลังหยิกคางตัวเองค้างไว้จนปลายนิ้วโป้งซีดขาว การหยิกตัวเอง

เป็นการพยายามกลั้นหรือสะกดอารมณ์ เป็นลักษณะเดียวกับเวลาบางคนหยิกแขน หรือ หยิกต้นขาตัวเองจังหวะ (*) จะพบเจ้าตัวยิ้มออกมา แต่ยังคงก้มหน้ามองต่ำ เจ้าตัวพยายามปรับและจูนอารมณ์(Compensating)ให้เป็นกลางมากขึ้น

จังหวะ (**) จะพบเจ้าตัวหลับตาไปครู่หนึ่งและพบมีน้ำตาคลอ (Eyes filled with tears) การพูดแล้วมีน้ำตาคลอก็สัมพันธ์กับความรู้สึกบางอย่างที่รุนแรง (High intensity of emotion)

อาจจะเป็นความรู้สึกที่ดี หรือ ไม่ดีก็ได้ เช่น โศกเศร้า เสียใจ หรือ ตื้นตัน ซาบซึ้ง ซึ่งจะต้องดูภาษากายอื่นร่วมด้วยในการวิเคราะห์

นาที 1:04-1:09 ช่วงที่พูดถึงการระดมทุนหาอุปกรณ์แพทย์ มือที่หยิกคางก็เปลี่ยนเป็นการคลึงและลูบคาง ในภาษากายการลูบและคลึงเป็นการปลอบประโลมทางจิตใจ (Releasing psychological stress)

แปลว่าจังหวะนี้อารมณ์ลบที่เก็บไว้จะเริ่มลดลง เปรียบได้คล้ายกับเด็กน้อยเวลาร้องไห้แล้วมีคนลูบหัวโอ๋ พอเราโตแล้วก็จะมีกลไกในการปลอบประโลมตัวเองแบบไม่รู้ตัวได้ในสถานการณ์บางสถานการณ์

นาที 1:54 ตอนที่พูดว่า “รู้สึกกดดัน ว่าเราจะว่ายสำเร็จไหม” จะพบภาษากาย 3 อย่างร่วมกัน ได้แก่

ก้มหน้ามองลงด้านซ้ายล่างและเม้มปาก ดังที่กล่าวมาตลอดใน VDO นี้จะพบภาษาทั้ง 3 อย่างหลายครั้งหลายจังหวะ แสดงถึงว่ามีความเครียดและกดดันจริง ๆ ดังที่เจ้าตัวพูดออกมา

นาที. 2:07 เจ้าตัวพูดว่า “มันโดนจับตามองมากเลย” และมีภาษากายของการเกาหัว (Head scratching) การเกาหัวจะพบได้เวลาเจอคำถามที่รู้สึกสับสน หรือ ไม่รู้จะตอบยังไงจะอธิบายยังไง

ผมสนใจในประโยคที่พูดว่า “มันโดนจับตามองมากเลย จากการว่ายครั้งนี้ครับ” ในที่นี้คงเป็นความหมายในแง่ลบ เช่น อาจจะหมายถึงจ้องจับผิด หรือ จ้องเสียดสี เป็นต้น

นาที 2:22 ตอนที่ถูกถามว่า การที่เราถูกจับตามองส่งผลต่อความรู้สึกมากน้อยแค่ไหน เจ้าตัวหยุดตอบไปพักใหญ่ ๆ และแสดง microexpression ของ Anger & Disgust ออกมา microexpression

จะเป็นสิ่งที่สังเกตได้ยากเพราะเกิดขึ้นแค่สั้น ๆ เพียงเสี้ยววินาที ถ้าเป็นสถานการณ์จริงมักจะสังเกตไม่ทัน

ในจังหวะนี้จึงวิเคราะห์ได้ชัดเจนว่าคุณโตโน่น่าจะกำลังรู้สึกไม่ชอบและเกลียดบางสิ่งบางอย่าง (ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเขากำลังคิดอะไร หรือ นึกถึงสิ่งใด)

ทั้งนี้ ในวินาที 2:24 มีการตัดบางส่วนของ VDO ทิ้งไป (Jump cut) ทำให้เราไม่ได้เห็นคำพูดและภาษากายต่อจากนั้น

ผมอาจจะไม่ได้วิเคราะห์ทุกช่วงใน VDO เพราะที่เหลือก็จะมีภาษากายที่คล้ายคลึงกับที่อธิบายมา โดยรวมจะเห็นจากภาษากายต่าง ๆ ว่าคุณโตโน่เครียดและมีความกดดันสูง

จะเห็นชัดว่าเจ้าตัวกำลังอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ที่รุนแรงที่อยู่ภายในจิตใจ และสังเกตจากการพูดที่หยุดพูด หยุดคิดบ่อย ๆ หรือ พูดไม่ครบประโยคแบบละไว้ในฐานที่เข้าใจ ทำให้เป็นการสัมภาษณ์ที่ดูไม่ค่อยไหลลื่น

แม้ร่างกายคุณโตโน่จะพร้อมและเทสผ่าน แต่สำหรับสภาวะจิตใจอาจจะยังไม่ร้อยเปอร์เซนต์ จึงเป็นการบ้านที่เจ้าตัวจะต้องจัดการความรู้สึกให้ได้อย่างเต็มที่ก่อนที่จะถึงวันทำกิจกรรม

แม้คุณโตโน่ถูกวิจารณ์เยอะ แต่เจ้าตัวก็ยืนยันว่าจะลงมือทำให้ประสบความสำเร็จ ผมเชื่อในความแน่วแน่และเอาจริงเอาจังของคุณโตโน่ และเป็นกำลังใจให้กับกิจกรรมการกุศลครั้งนี้

ขอบคุณข้อมูล:bodylanguageclassroom

May